วันอังคารที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2560

ทฤษฎีบาสเกตบอล - ประวัติความเป็นมาโดยย่อและกฏกติกาบาสเกตบอล พื้นฐาน 13 ข้อ





ประวัติความเป็นมา


       กีฬาบาสเกตบอลมีประวัติความเป็นมายาวนานมากกว่า หนึ่งร้อยปี จากปี พ.ศ. 2434 จนถึงปัจจุบัน กีฬาบาสเกตบอลที่กำเนิดขึ้น ที่เมืองสปริงฟิล รัฐแมสซาชูเซส สหรัฐอเมริกา โดย DR. JAMES NAISMITH อาจารย์วิชาพละประจำโรงเรียนคนงานคริสเตียน ซึ่งปัจจุบันเป็นวิทยาลัยสปริงฟิล
ขณะนั้น DR. JAMES ต้องการให้มีการแข่งขันกีฬาในร่มสำหรับนักเรียนในช่วงฤดูหนาว โดยตั้งกฏกติกาขึ้นมาให้ 5 ข้อ คือ นักกีฬาใช้มือเล่นลูกบอล, นักกีฬาห้ามถือลูกบอลวิ่ง, นักกีฬาสามารถที่จะยืนตำแหน่งใดก็ได้ในสนาม, นักกีฬาห้ามปะทะแตะเนื้อต้องตัวกัน และห่วงประตูอยู่เหนือพื้นสนาม ติดตั้งขนานกับขอบสนาม
     ปี พ.ศ. 2439 ได้มีการจัดตั้งกีฬาสมาคมสมัครเล่นขึ้น จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. 2475 บาสเกตบอลเป็นที่สนใจและเป็นที่นิยมของคนทั่วโลก และสามารถกล่าวได้ว่า บาสเกตบอลเป็นกีฬามาจาก สหรัฐอเมริกา (USA.) ในปีเดียวกัน สมาคมบาสเกตบอล ได้จัดการประชุมสัมมนา ณ กรุงเจนีวา (Genrva) และได้มีประเทศก่อตั้งสหพันธ์บาสเกตบอลสมัครเล่นนานาชาติ (FIBA) รวม 8 ประเทศ
FIBA เป็นสหพันธ์ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อกำหนดและจัดทำกติกาบาสเกตบอล
   ซึ่งกีฬาบาสเกตบอลได้รับความนิยมอย่างมากจนมีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยกฏกติกาได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ จนเป็นกฏเกณฑ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน 

 กติกาบาสเกตบอล

  1. สามารถโยนลูกบอลด้วยมือข้างเดียวหรือสองมือ
  2. สามารถตีลูกบอลด้วยมือข้างเดียวหรือสองมือ แต่ต้องไม่ใช้กำปั้น
  3. ห้ามถือลูกบอลวิ่งต้องโยนลูกบอลจากจุดที่ถือลูกบอล ผู้เล่นสามารถวิ่งเพื่อคว้าบอล
  4. ต้องถือลูกบอลด้วยมือ แขนหรือลำตัว ห้ามดึงลูกบอล
  5. ห้ามใช้ไหล่ดัน ผลัก ดึง ตบหรือตี ฝ่ายตรงข้าม หากเกิดการละเมิดให้ถือเป็น ฟาล์ว หาก กระทำซ้ำอีก ถือเป็น ฟาล์วเสียสิทธิ์ จนกว่าจะเกิดการยิงประตูเป็นผลในคราวต่อไป หรือเกิดผู้เล่นบาดเจ็บของผู้เล่นตลอดการแข่งขัน ห้ามเปลี่ยนตัวผู้เล่น
  6. การฟาล์วเป็นการกระแทกลูกบอลด้วยกำปั้นและการผิดระเบียบของกติกา ข้อ 3, 4 และตาม       รายละเอียดตามกติกาข้อ 5
  7. หากผู้เล่นฝ่ายเดียวกันกระทำฟาล์วติดต่อกัน 3 ครั้ง ให้นับคะแนน (การฟาล์วติดต่อกัน หมายถึง เป็นการฟาล์วที่ไม่มีการฟาล์วของฝ่ายตรงข้ามคั่นระหว่างการฟาล์วติดต่อนั้น)
  8. เมื่อลูกบอลถูกตี หรือโยนจากพื้นเสข้าประตู ให้นับคะแนน หากลูกบอลค้างก้านห่วงโดยผู้ เล่นฝ่ายป้องกันสัมผัสหรือกระทบประตู ให้นับคะแนน
  9. เมื่อลูกบอลออกนอกสนามให้ส่งบอลเข้าเล่นที่สัมผัสลูกบอลครั้งแรกในกรณี ที่มีผู้คัดค้าน กรรมการผู้ร่วมตัดสิน (Umpire) จะโยนบอลเข้าไปในสนาม ผู้เล่น ที่ส่งบอลสามารถใช้เวลาได้ 5 วินาที หากเกินกว่านั้นฝ่ายตรงข้ามได้ส่งบอลแทน หากมีการคัดค้านและทำให้การแข่งขัน ล่าช้า กรรมการผู้ร่วมตัดสิน (Umpire) สามารถขานฟาล์วเทคนิค
  10. กรรมการผู้ร่วมตัดสิน (Umpire) มีหน้าที่ตัดสินและจดบันทึดการฟาล์ว เกิดฟาล์วต่อกัน ครบ 3 ครั้ง ให้แจ้งต่อผู้ตัดสิน (Referee) และสามารถให้ฟาล์วเสียสิทธิ์ ตามกติกาข้อ 5
  11. ผู้ตัดสิน (Referee) มีหน้าที่ตัดสินชี้ขาด เมื่อลูกบอลเข้าสู่การเล่นในพื้นที่ของเขาและเป็นผู้ จับเวลา, ให้คะแนนเมื่อเกิดการยิงประตูเป็นผล, จดบันทึกคะแนนและรับผิดชองตามพื้นที่
  12. เวลาการแข่งขัน แบ่งเป็น 2 ครึ่ง ๆละ 15 นาที พัก 5 นาที
  13. เมื่อหมดเวลาการแข่งขัน ฝ่ายที่ทำคะแนนมากกว่าเป็นผู้ชนะ กรณีมีคะแนนเท่ากันให้ หัวหน้าทีมตกลงกันเพื่อแข่งขันต่อจนกว่ามีฝ่ายใดทำคะแนนได้
ที่มาของแหล่งข้อมูล เว็บไซต์ EDUCATEPARK
www.educatepark.com
และ กกท. สมาคมบาสเกตบอลแห่งประเทศไทย





สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 4.0 International.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น